ครีมต๊าปคุณภาพ เหมาะสำหรับงานต๊าปเกลียวช่วยให้การต๊าปวัสดุที่แข็ง เช่น เหล็กชุปพิเศษ สแตนเลส ได้ง่าย ไม่ติด ดอกไม่หักง่าย ประหยัดเวลา ยืดอายุการใช้งานของดอกต๊าปให้สึกช้าลง
Tapping Paste C-100-1 Tapping Paste Lubricant for Metalworking
วิธีการใช้ : การตัดวัตถุดิบประเภทโลหะ (คุณสมบัติไม่ละลายน้ำ)
คุณสมบัติเด่น + Tapping Paste นี้มีการใส่สารเติมแต่งอย่างเพียงพอเพื่อให้การกัดเกลียวมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น + มีประสิทธิภาพในการกัดเกลียววัตถุดิบประเภทโลหะ ยกเว้นทองแดงผสมอัลลอย โดยเฉพาะจะมีประสิทธิภาพสูงในการกัดเกลียววัตถุดิบที่ขึ้นรูปยาก จำพวกเหล็กทนความร้อนสูง, สแตนเลส (สำหรับทองแดงและทองแดงผสมอัลลอย กรุณาใช้ Tapping Paste C) + เนื่องจากผลิตภัณฑ์อยู่ในสถานะของเหลว (แบบครีม) ในการอุณหภูมิปกติจึงใช้ง่ายและใช้ในปริมาณน้อยลง เหมาะสำหรับการทำงานที่ยากที่จะต้องมีการหยอดน้ำมัน เช่น การกัดเกลียวและการเจาะรูด้านข้าง ผลิตภัณฑ์จะกลายเป็นของเหลว (แบบน้ำ) จากความร้อนในการตัด และแทรกซึมเข้าไปในชิ้นส่วนที่ขึ้นรูป ทำให้ปัดเศษเหล็กออกมาได้ดีไม่ทำให้พื้นท่ทำงานโดยรอบสกปรก + สามารถประยุกต์ใช้กับการตัดทุกชนิดไม่ใช่เฉพาะการกัดเกลียวเท่านั้น
วิธีการใช้ + ในการกัดเกลียวนั้น ให้ทา Tapping Paste ที่บริเวณกัดเกลียวทีละน้อย + กรณีที่สภาพการกัดเกลียววัสดุและสภาพการซึมของสารหล่อลื่นลดลงให้เติมน้ำมันเครื่องหรือน้ำมันหล่อเย็นซึ่งมีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำลงไปผสมในปริมาณที่เหมาะสม
ข้อควรระวัง + Tapping Paste : C-101 มีสารแต่งเติมประเภทคลอรีนเป็นองค์ประกอบอยู่ + กรณีที่ต้องการเป็นสารที่ไม่มีคลอรีน (Chlorine-free) ให้ใช้เป็น C-100 + ในสารที่ไม่มีคลอรีน (Chlorine-free) สำหรับทองแดงและอัลลอยให้ใช้เป็น C-100C + หากมีข้อสงสัย กรุณาอ้างอิงเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS)
ส่วนประกอบที่ปรากฏ : น้ำมันปิโตเลี่ยม, พาราฟินแข็ง ข้อมูลความเป็นพิษอันตราย : ระคายเคืองต่อดวงตา
มาตรการความปลอดภัย + อย่ากลืนกิน และควรระวังอย่าให้กระเด็นเข้าดวงตา + ควรระวังอย่าให้สัมผัสถูกผิวหนัง + ควรระวังอย่าสูดดมละอองและไอระเหยเข้าไป + ควรสวมถุงมือป้องกันอันตราย/ชุดป้องกันอันตราย/แว่นตาป้องกันอันตราย/อุปกรณ์ป้องกันอันตรายบริเวณใบหน้า + อย่าวางไว้ในที่ๆ เด็กสามารถหยิบจับได้
การปฐมพยาบาล + กรณีกระเด็นเข้าดวงตา : ให้ล้างออกด้วยน้ำหลายๆ ครั้งให้สะอาดด้วยความระมัดระวัง กรณีที่สวมใส่คอนแทคเลนส์และสามารถถอดออกได้ให้ถอดออก และล้างด้วยน้ำหลายๆ ครั้ง จากนั้นให้แพทย์ตรวจวินิจฉัย/อยู่ในความดูแลของแพทย์ + กรณีที่สัมผัสถูกผิวหนัง : ให้ล้างออกด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก + กรณีสูดดมเข้าไป : ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปอยู่ในบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์และพักผ่อนโดยอยู่ในท่าที่หายใจได้สะดวก รักษาอุณหภูมิจากนั้นให้ไปพบแพทย์ตรวจวินิจฉัย/อยู่ในความดูแลของแพทย์ + กรณีที่กลืนกินเข้าไป : ให้แพทย์ตรวจวินิจฉัย/อยู่ในความดูแลของแพทย์
การเก็บรักษา + หลังการใช้งาน ให้เก็บไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละออง, น้ำ เป็นต้น เข้าไปเจือปนได้ + จัดเก็บในที่ร่ม และมีอากาศถ่ายเทได้ดีหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด
การกำจัด + กำจัดตัวเนื้อครีม /ภาชนะโดยปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของนานาประเทศ, ภายในประเทศ, จังหวัด, เมือง, กฎหมายท้องถิ่น
|